มาตรา 57 : การปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

 

นิยามตลาด

“ตลาด” หมายความว่า ตลาดที่เกี่ยวเนื่องในสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันหรือที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ โดยให้พิจารณาด้านคุณลักษณะ ราคา หรือวัตถุประสงค์การใช้งานของสินค้าหรือบริการ และด้านพื้นที่ในการจําหน่ายสินค้าหรือให้บริการ

นิยามผู้ประกอบธุรกิจ

“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้จําหน่าย ผู้ผลิตเพื่อจําหน่าย ผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อจําหน่าย ผู้ซื้อเพื่อผลิตหรือจําหน่ายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการในธุรกิจ

นิยามอำนาจตลาด

“อำนาจตลาด” หมายความว่า การที่ผู้ประกอบธุรกิจมีอำนาจและความสามารถในการกำหนดทิศทางหรือเงื่อนไขของการดำเนินธุรกิจในตลาดได้

นิยามอำนาจต่อรองที่เหนือกว่า

“อำนาจต่อรองที่เหนือกว่า” หมายความว่า การที่ผู้ประกอบธุรกิจมีอำนาจและความสามารถในการควบคุม สั่งการ กำหนดทิศทาง หรือกำหนดเงื่อนไขของการดำเนินธุรกิจกับผู้ประกอบธุรกิจอีกรายได้โดยผู้ประกอบธุรกิจอีกรายดังกล่าวต้องยินยอมโดยปริยาย

พฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

1. การใช้อำนาจตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าอย่างไม่เป็นธรรม มีลักษณะดังต่อไปนี้

1) ผู้ประกอบธุรกิจมีอำนาจตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าผู้ประกอบธุรกิจอีกราย

2) ผู้ประกอบธุรกิจใช้อำนาจตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าเอาเปรียบหรือจำกัดทางเลือกของคู่ค้าดังกล่าวอย่างไม่เป็นธรรม

  • การพิจาณาอำนาจตลาดและอำนาจต่อรองที่เหนือกว่า

    การมีอำนาจตลาดให้สันนิษฐานว่าผู้ประกอบธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปมีอำนาจตลาดโดยพิจารณาที่องค์ประกอบอื่นๆ เช่น จำนวนผู้ประกอบธุรกิจในตลาด จำนวนเงินลงทุน การเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ช่องทางการจัดจำหน่าย เครือข่ายในการประกอบธุรกิจ โครงสรร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจ และกฎระเบียบภาครัฐ

  • การมีอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าให้พิจารณาลักษณะดังต่อไปนี้

    - ผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งต้องพึ่งพาการขายสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งโดยมูลค่าการทำธุรกิจกันตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไปจากการซื้อ ขายสินค้าหรือบริการนั้น

    – กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งต้องพึ่งพากันซื้อขายสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจอีกรายหนึ่ง โดยมูลค่าการทำธุรกิจระหว่างกันน้อยกว่า 30 ของรายได้จากการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้น และเข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้

    ก. ไม่สามารถหรือไม่มีทางเลือกในการเปลี่ยนไปประกอบธุรกิจกับรายอื่น

    ข. การเปลี่ยนไปประกอบธุรกิจกับรายอื่นจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเดินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากผู้ประกอบธุรกิจรายเดิม

2. การกีดกันการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่นอย่างไม่เป็นธรรม

คือ การกีดกันผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น โดยการกำหนดรายสินค้า ปริมาณสินค้า หรือวิธีการทางการค้าอื่นๆ ในการผลิตซื้อหรือจำหน่ายของผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

1. กำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการต่ำอย่างไม่เป็นธรรม

2. การกำหนดราคาซื้อสินค้าหรือบริการสูงอย่างไม่เป็นธรร

3. การกำหนดเงื่อนไขทางการค้าอันเป็นการจำกัดหรือขัดขวางการประกอบธุรกิจของผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรม มีลักษณะดังต่อไปนี้

1. การกำหนดเงื่อนไขทางการค้าที่เป็นการค้าที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรระหว่างลูกค้าต่างรายหรือต่างพื้นที่การทำธุรกิจที่แตกต่างกัน

2. การกำหนดเงื่อนไขทางการค้าที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบธุรกิจบางรายเป็นการเฉพาะอย่างไม่เป็นธรรม

3. การกำหนดเงื่อนไขทางการค้าที่เป็นอำนวยประโยชน์ตอบแทนคู่ค้าของคู่แข่งที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เพื่อให้คู่ค้าเปลี่ยนมาทำการค้ากับตน

4. การกำหนดเงื่อนไขบังคับโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้คู่ค้าต้องซื้อสินค้าหรือบริการอื่นจากตนหรือจากผู้ประกอบกาธุรกิจรายอื่น หากคู่ค้าจะสั่งซื้อสินค้าหรือบริการชนิดที่ต้องการจากตน

5. การกำหนดเงื่อนไขห้ามมิให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจหรือทำการค้ากับคู่แข่งโดยไม่มีเหตุผลสมควร

6. การกำหนดเงื่อนไขทางการค้าที่จำกัดหรือขัดขวางการประกอบธุรกิจของคู่ค้ากับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นอย่างไม่เป็นธรรม

7. การเข้าควบคุมการแต่งตั้งพนักงานของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคู่ค้าอย่างเป็นธรรม

8. การแทรกแซงการทำธุรกรรมของคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม

9. การแทรกแซงการบริหารภายในของคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม โดยการใช้สิทธิออกเสียงการแต่งตั้ผู้บริหาร หรือวิธีอื่นใดในธุรกิจของคู่แข่ง

10. การปฏิเสธที่จะทำการค้ากับคู่ค้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

หมายเหตุ : การพิจารณาความไม่เป็นธรรมของการกระทำ

  • เป็นการกระทำที่ไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อนที่มิใช่การดำเนินการตามธุรกิจปกติ

  • เป็นเงื่อนไขที่มิได้กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรและมิได้แจ้งให้คู่ค้าทราบเป็นการล่วงหน้าภาในระยะเวลาอันสมควรตามแนวทางการค้าปกติของคู่กรณี

  • เป็นการกระทำที่ไม่สามารถรับฟังได้ด้วยเหตุผลอันชอบธรรมในทางธุรกิจ การตลาดหรือเศรษฐศาสตร์

  • ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง

  • ใผู้ประกอบธุรกิจใดที่ฝ่าฝืนมาตรา 57 ปฎิบัติพฤติกรรมการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ต้องชำระค่าปรับทางปกครอง ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด

    ในกรณีที่เป็นการกระทำความผิดในปีแรกของการประกอบธุรกิจ ให้ชำระค่าปรับทางปกครองในอัตราไม่เกิน 1 ล้านบาท

ติดต่อเรา

  • map
  • อาคารจอดรถ 5 ชั้น (BC) ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
    เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

สมัครรับข้อมูลข่าวสาร

  • สงวนลิขสิทธิ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
     Visits: 867221