2.1 การป้องปราม
(1) การเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการบังคับใช้กฎหมาย
กฎหมายฉบับเดิม
การออกอนุบัญญัติกฎ ระเบียบ ข้อบังคับใด ๆ เป็นอำนาจของ กขค
กฎหมายฉบับใหม่
กขค. ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนประกาศใช้
* ผู้ประกอบธุรกิจรับทราบและมีการเตรียมความพร้อม รวมทั้งมีโอกาสชี้แจงให้ข้อเสนอแนะ เพื่อไม่ให้กฎระเบียบ ข้อบังคับที่จะกำหนดเป็นประโยชน์ต่อการดูแลด้านการแข่งขันและสามารถบังคับใช้ได้จริง
(2) การขอรับการวินิจฉัยพฤติกรรมเป็นการล่วงหน้า
กฎหมายฉบับเดิม
ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถขอให้ กขค. วินิจฉัย เป็นการล่วงหน้าได้
กฎหมายฉบับใหม่
ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอรับการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการจาก กขค. เป็นการล่วงหน้าได้ (คำวินิฉัยผูกพันเฉพาะข้อเท็จจริงที่ให้กับสำนักงาน)
*ผู้ประกอบธุรกิจสามารถสอบถามได้กรณีที่สงสัยว่าพฤติกรรมของตนจะเข้าข่ายฝ่าฝืนหรือไม่
(3) ต้องเผยแพร่ผลการวินิจฉัยพฤติกรรมความผิดต่อสาธารณะ
กฎหมายฉบับเดิม
ไม่กำหนด
กฎหมายฉบับใหม่
กขค.ต้องเผยแพร่ผลการวินิจฉัยต่อสาธารณะชน และรายงานต่อ ครม.
*ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเรียนรู้จากพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายและต้องได้รับโทษ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ
(4) การให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดขวางการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
กฎหมายฉบับเดิม
ไม่กำหนด
กฎหมายฉบับใหม่
กขค.สามารถให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ เกี่ยวกับนโยบายหรือการดำเนินการของรัฐที่อาจก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ
2.2 การปราบปราม
(1) บทลงโทษ
กฎหมายฉบับเดิม
ทุกพฤติกรรมความผิดมีฐานความผิดเดียว คือ ต้องได้รับโทษอาญา “จำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
กฎหมายฉบับใหม่
• การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะมีบทลงโทษขึ้นอยู่กับความหนักเบาของพฤติกรรมทั้งโทษปรับทางปกครองและโทษอาญา สอดคล้องกับหลักการลงโทษแก่หน่วยธุรกิจ
• กรณีเป็นโทษอาญา กขค. มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ ทำให้มีกลไกในการเยียวยาแก่ผู้ได้รับความเสียหาย
ตารางเปรียบเทียบบทลงโทษ
กฎหมายฉบับเดิม
พฤติกรรม
- การใช้อำนาจเหนือตลาด
- การตกลงร่วมกัน (Hard Core )
- การตกลงร่วมกัน (Others Cartel)
-การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมทางการค้า
- การรวมธุรกิจ
จำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายฉบับใหม่
พฤติกรรม
- การใช้อำนาจเหนือตลาด
- การตกลงร่วมกัน (Hard Core )
จำคุก 2 ปี ปรับ (อาญา) ไม่เกิน 10% รายได้ในปีที่กระทำความผิด(คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้)
พฤติกรรม
- การตกลงร่วมกัน (Others Cartel)
- การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมทางการค้า
จำคุก 2 ปี ปรับ (อาญา) ไม่เกิน 10% รายได้ในปีที่กระทำความผิด(คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้)
พฤติกรรม
- การรวมธุรกิจ
ไม่ขออนุญาตรวมธุรกิจ : ปรับ (ปกครอง) 0.05% ของมูลค่ารวมธุรกิจ กรณีไม่แจ้งรวมธุรกิจ : ปรับ (ปกครอง)
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกด้านการสืบสวนสอบสวน
กฎหมายฉบับเดิม
ตำรวจหรืออัยการในอนุกรรมการสอบสวนต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น
กฎหมายฉบับใหม่
ตำรวจหรืออัยการในอนุกรรมการสอบสวนสามารถเป็นข้าราชการหรือเคยเป็น (เกษียณ ลาออก โอนย้าย) ก็ได้
• สามารถคัดเลือกผู้ที่ความรู้และมีเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่
(3) การกำหนดให้ศาลทรัพย์สินฯ เป็นผู้พิจารณาความผิดที่มีโทษอาญา
กฎหมายฉบับเดิม
กำหนดให้ศาลอาญาเป็นผู้พิจารณา
กฎหมายฉบับใหม่
กำหนดให้ศาลทรัพย์สินฯ เป็นผู้พิจารณา (มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ)
(4) เพิ่มประสิทธิภาพ กลไกการระงับยับยั้งพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรืออาจฝ่าฝืนกฎหมาย จากโทษทางอาญาเป็นโทษทางปกครอง
กฎหมายฉบับเดิม
• กรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่ง กขค. มีโทษอาญาจำคุก 1 - 3 ปี ปรับ 2 - 6 ล้านบาท และปรับรายวัน 5 หมื่นบาทจนกว่าจะหยุดพฤติกรรม โดยต้องฟ้องศาลบังคับ
• กรณีที่ฝ่าฝืนหรืออาจฝ่าฝืน ผู้วินิจฉัยคือศาล ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่เกรงกลัว
• กรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่ง กขค. และศาลเห็นว่า ไม่ผิด แต่อาจต้องได้รับโทษจำคุกเพราะ ฝ่าฝืนคำสั่ง กขค.
กฎหมายฉบับใหม่
• กรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่ง กขค. มีโทษปรับปกครอง ไม่เกิน 6 ล้านบาท และปรับรายวัน 3 แสนบาทจนกว่าจะหยุดพฤติกรรม)
• กรณีที่ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ต้องรับโทษ หากฝ่าฝืนคำสั่ง กขค. ลงโทษได้เอง และมีบทลงโทษตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน
• กรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่งและไม่ชำระค่าปรับทางปกครอง กขค. สามารถฟ้องศาลปกครองเพื่อยึดทรัพย์ ขายทอดตลาดชำระเป็นค่าปรับก็ได้