สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

TRADE COMPETITION COMMISSION OF THAILAND

กิจกรรม

 

กขค.ร่วมถกกลุ่ม BRICS พัฒนาองค์ความรู้การแข่งขันทางการค้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ (11-13 ตุลาคม 2566) กลุ่มประเทศ BRICS ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ได้จัดงานประชุมด้านการแข่งขันทางการค้าภายใต้ชื่อ "8 th BRICS International Competition Conference 2023 " โดยประเทศอินเดียเป็นเจ้าภาพ และ ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้าอินเดียได้เชิญคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ไทยเป็น แขกพิเศษเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่ง ดร.รักษเกชา แฉ่ฉาย กรรมการการแข่งขันทางการค้า พร้อมด้วย นายปิติเชษฐ์ จิตต์กำแหง นักสืบสวนสอบสวน เข้าร่วมประชุมข้างต้น ดร. รักษเกชา แฉ่ฉาย เปิดเผยว่าการประชุมดังกล่าวกำหนดหัวข้อ เรื่อง New Issues in Competition Law and Policy – Dimensions • Perspectives • Challenges มีผู้เข้าร่วมประมาณ 450 คน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรการแข่งขันทางการค้ากลุ่ม BRICS และยังมีผู้เชี่ยวชาญด้าน การแข่งขันที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ของประเทศอินเดียเข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็น หนึ่งในไม่กี่ประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม BRICS ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวนอกเหนือจากประเทศ เบลเยี่ยม อิตาลี ฮ่องกง ซาอุดิอาระเบีย และมอริเชียส
.
สำหรับผลการประชุมข้างต้น ได้มีการกล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ ที่ครอบคลุมในหลาย ๆ มิติทางด้าน การแข่งขันทางการค้า โดยเฉพาะประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ตามกระแส Technology Disruption นั้นคือ Digital market ซึ่งมีผลกระทบต่อการแข่งขันทางการค้าในโลกยุคใหม่ ทางหน่วยงานด้านการแข่งขันทางการค้า จะต้องติดตามและออกมาตรการกำกับให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรม นอกจากนี้ยังได้มีการ นำเสนอมาตรการลดหย่อนผ่อนโทษ (Leniency Programme) ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการสอบสวนคดีซึ่ง ฮั้วหรือร่วมกันของผู้ประกอบการน้อยรายในการทำธุรกิจ ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยลดโทษให้หรือไม่เอาผิดกับ ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการกับตัวการใหญ่ในการกระทำผิด อีกประเด็นหนึ่งที่ได้มีการนำเสนอคือการส่งเสริมให้มีการใช้ Soft Law เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในตลาดการ แข่งขัน ซึ่งเป็นมาตรการที่แตกต่างไปจากการบังคับใช้กฎหมายแบบเดิม (Hard Law) อย่างเข้มแข็งเพื่อ เอาผิดและเอาคนมาลงโทษ แต่ Soft Law มุ่งเพื่อสร้างกติการ่วมกันให้มีการปฏิบัติโดยสมัครใจและเพื่อเป็น การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม หรือกล่าวอีกนัยนึงก็คือเป็นการสร้างวัฒนธรรมการแข่งขัน ทางการค้าที่ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ปลาใหญ่ไม่รังแกปลาเล็ก แต่อยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 
.
“การประชุมครั้งนี้ได้เห็นพัฒนาการทางด้านการแข่งขันทางการค้าของหลายประเทศ ซึ่งสามารถ นำไปปรับใช้เป็นข้อมูลในการแก้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทย เนื่องจากในขณะนี้ สมาชิกรัฐสภาได้ เสนอยื่นแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ซึ่งข้อคิดเห็น ความรู้ และประสบการณ์ ใหม่ ๆ จากการประชุมข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป” ดร. รักษเกชา แฉ่ฉาย กล่าว ดร. รักษเกชา เปิดเผยต่อไปว่า ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะผู้แทน กขค. ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นางสาวภัทรัตน์ หงษ์ทอง เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งได้มีการหารือ แลกเปลี่ยนข้อราชการ รวมถึง ให้ข้อมูลบทบาทและหน้าที่ของ กขค. ซึ่งทางคณะผู้แทน กขค. ได้มอบรายงานประจำปีของสำนักงานให้ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี เพื่อเป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและประกอบเป็นข้อมูลต่อไปด้วย ซึ่งเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลีได้กล่าวแสดงความขอบคุณต่อคณะผู้แทน กขค. ในการดังกล่าว และเห็น ว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งที่เวลามีคณะผู้แทนไทยเดินทางไปปฏิบัติราชการที่ต่างประเทศและมีโอกาสได้หารือกับ ทางสถานทูต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสถานทูตในการใช้เป็นข้อมูลในการเจรจาในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลียังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอินเดียค่อนข้างส่งเสริมให้ความสำคัญใน เรื่องการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรม การที่อินเดียในฐานะเป็นสมาชิกประเทศกลุ่ม BRICS เชิญ กขค. ไทยมาร่วมประชุมครั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงใจและการให้ความสำคัญกับ กขค. ไทย ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในเรื่องนี้ต่อไปในวันข้างหน้า ทั้งนี้ รวมไปถึงโอกาสในการ ลงทุนที่เปิดกว้างสำหรับนักลงทุนของแต่ละประเทศก็น่าจะมีเพิ่มขึ้นด้วย